วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมาคลินิกโรคจากการทำงาน

โครงการพัฒนาศักยภาพคลินิกอาชีวเวชศาสตร์
โรงพยาบาลพิจิตร
ปี พ.ศ. 2554
………………………………………….…..
  ด้วยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงแรงงาน ได้จัดทำข้อตกลงร่วมกันเมื่อ วันที่  6  กรกฎาคม  2548  ในการดำเนินโครงการคลินิกโรคจากการทำงาน เพื่อจัดให้มีระบบการดูแลลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากการประกอบอาชีพ  ให้ลูกจ้างมีช่องทางเข้าถึง การวินิจฉัยโรค มีการพัฒนาคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ และเครือข่าย ตลอดจนแนวทางการวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐาน  มีการดูแลรักษาหลังจากการเกิดโรคและอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ และปัจจุบันมีแนวโน้มการเกิดโรคจากการทำงาน มีอุบัติการณ์สูงขึ้น เนื่องจากผลของการพัฒนาประเทศ ทำให้ภาคอุตสาหกรรม ได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่ และขยายตัวอย่างรวดเร็ว สร้างรายได้และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก่อให้เกิดปัญหาอาชีวอนามัยแก่ผู้ใช้แรงงานในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการเจ็บป่วยชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง กระทรวงแรงงานและกระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่า และสำคัญยิ่งของประเทศ โรงพยาบาลพิจิตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร จึงจัดให้มีระบบป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ โดยเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ (คลินิกโรคจากการทำงาน) 
ปี พ.ศ. 2554 

วัตถุประสงค์

          1  เพื่อจัดให้มีระบบการดูและสุขภาพ และการวินิจฉัยโรคจากการทำงานของลูกจ้าง
          2  เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค  และอุบัติเหตุจากการทำงาน
            3  เพื่อให้คำปรึกษา และส่งเสริมงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานแก่สถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมาย
          1  จัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงาน จำนวน  1 แห่ง และ เปิดบริการสัปดาห์ละ  1  วัน
          2  สร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้อง
                   2.1  ประชุมร่วมกับแผนกต่างๆที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาล      จำนวน  2  ครั้ง
                   2.2  ประชุมร่วมกับหน่วยงานภายนอก โรงพยาบาล           จำนวน  1  ครั้ง
                   2.3  ประชุมคณะทำงานเครือข่ายคลินิกโรคจากการทำงาน    จำนวน  2  ครั้ง
                   2.4  จัดกิจกรรมบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกแก่สถานประกอบการร่วมกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  จำนวน   6   ครั้ง
3.       จัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรับ / เชิงรุก
3.1   จัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรับในโรงพยาบาลแก่ผู้รับบริการ
3.2   จัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกในสถานประกอบการ        จำนวน  6  แห่ง
3.3   ดำเนินการเฝ้าระวัง  ป้องกัน  ควบคุมโรค และการบาดเจ็บจากการทำงานตาม
ความเสี่ยงของสถานประกอบการ  จำนวน  1  โครงการ
                    3.4 พัฒนาบุคลากรด้านอาชีวอนามัย   อย่างน้อย  5  คน
                    3.5  ร้อยละ 80 ของผู้ประกันตนที่มารับบริการที่คลินิกโรคจากการทำงาน มีความ    พึงพอใจระดับดีขึ้นไป